พูดกันง่ายๆ ตำรับอาหารตะวันออกกลางมีส่วนผสมหลักๆ คือ ผลและน้ำมันมะกอก แป้งพีตา น้ำผึ้ง งา อินทผลัม ถั่วชิกพีส์ ใบมินต์ พาสลีย์ ฯลฯ ผสมกับเครื่องเทศต่างๆ โดยสามารถจำแนกลักษณะเด่นๆ ได้ดังนี้

- ต้มเคี่ยวอาหารจนนุ่ม โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ และยังนำเนื้อสัตว์ที่นุ่มแล้วไปปรุงอาหารอย่างอื่นต่อได้อีก
- รับประทานเนื้อสัตว์เป็นหลัก ส่วนในเปอร์เซียจะรับประทานเนื้อสัตว์กับถั่วหรือผลไม้แห้ง
- ผักสำคัญได้แก่ถั่วชนิดต่างๆ มะเขือ แตงกวา กระเจี๊ยบเขียว
- ใช้นม โยเกิร์ต เนยแขกหรือกี ในการปรุง
- นิยมอาหารยัดไส้นานาชนิด
- รับประทานแป้งทำจากข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ซึ่งนำมาทำเป็นขนมปัง
- ข้าวเจ้าถือเป็นอาหารพิเศษที่ปรุงอย่างประณีตเป็นข้าวหมกนานาชนิด ไม่ใช่อาหารประจำวัน
- ปรุงแต่งอาหารด้วยหญ้าฝรั่น เครื่องเทศต่างๆ น้ำกุหลาบและขมิ้น

หลายคนคงเริ่มเห็นภาพแล้ว ไม่เพียงอาหารตะวันออกกลางที่เข้มแข็งสุดๆ ด้วยตัวเอง (เข้มแข็งกว่าอัตลักษณ์ประเทศ จนแต่ละประเทศแทบจะไม่มีข้อแตกต่างเรื่องอาหาร หรือถ้ามีก็น้อยมาก) แม้แต่อาหารอินเดียที่ชาวไทยกำลังอินกันหนักนั้น ก็มีความตะวันออกกลางเจือปนอยู่มากทีเดียว ไม่ว่าจะการกินแป้งขนมปังอย่างนานเป็นอาหารหลัก อุดมไปด้วยเครื่องเทศสารพันชนิด ต้มเคี่ยวเนื้อสัตว์จนนุ่ม ใช้น้ำกุหลาบในอาหาร ไปจนถึงวัฒนธรรมการใช้มือรับประทาน ซึ่งก็ถูกต้องตามนั้นค่ะ เพราะอินเดีย มลายู-ชวา รวมทั้งประเทศไทยเราเองล้วนได้รับอิทธิพลจากอาหารตะวันออกกลาง ที่แพร่ขยายมาพร้อมๆ กับการแพร่ขยายของศาสนาอิสลาม อินเดียอยู่ใกล้หน่อยก็เรียกว่ารับมาอย่างค่อนข้างจะเต็มๆ ผลิตภัณฑ์จากชาวตะวันออกกลาง